โคลนถล่ม
โคลนถล่ม เป็นภัยธรรมชาติ คือ
คำเรียกรวมๆของการเคลื่อนที่ของมวลสาร (Mass movement หรือ mass-wasting) ซึ่งคือ
กระบวนการเคลื่อนตัวของมวลหิน ดินและทรายลงมาตามความลาดชัน (Slope) ภายใต้แรงดึงดูดของโลก (Gravity) เป็นหลัก
โดยอาจอาศัยตัวกลางระหว่างการพัดพา ยกตัวอย่างเช่น น้ำ, ลมและธารน้ำแข็ง
ซึ่งตัวกลางเหล่านี้เป็นตัวช่วยเสริมการย้ายมวล ดังนั้นหากตะกอนอิ่มตัวด้วยน้ำ
แรงเสียดทานระหว่างเม็ดตะกอนจะลดลง การย้ายมวลจึงเกิดได้ดีขึ้น
หลายคนเข้าใจว่า
การย้ายมวลเกิดเฉพาะบนแผ่นดิน (Continents) เท่านั้น
แต่จากการศึกษาทางธรณีฟิสิกส์และการลำดับชั้นหินตะกอนพบว่า บริเวณไหล่ทวีป (Continental
shelf) ของมหาสมุทรหลายแห่ง
มีการเคลื่อนตัวของตะกอนเช่นเดียวกับบนแผ่นดิน
และจัดเป็นการเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วลงมาตามความลาดชัน เรียกว่า กระแสน้ำขุ่นข้น (Turbidity
current)
กระบวนการเกิดดินหรือโคลนถล่ม[แก้]
ส่วนใหญ่การย้ายมวลที่กล่าวถึงกันบ่อยๆ
คือ แผ่นดินเลื่อน (Landslide) หรือดินถล่ม
โดยรวมเอาวิธีการย้ายมวลทุกรูปแบบไว้ด้วยกัน ซึ่งความจริงยังไม่ถูกต้องมากนัก
รูปแบบการย้ายมวลมีหลายกระบวนการด้วยกัน โดยถือปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวกำหนด
ความเร็วของการย้ายมวล
ปริมาณน้ำที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
ชนิดของสารที่เกิดการย้ายมวล
ความลาดชันของพื้นที่
หากจำแนกตาม Sharpe (1938) จะพิจารณาความเร็วของการย้ายมวล
ปริมาณน้ำและความลาดชันของพื้นที่เป็นสำคัญ โดยเรียงลำดับจาก
ปริมาณน้ำน้อยและมีการเคลื่อนตัวของมวลสารมาก ในพื้นที่ความลาดชันสูง –
ปริมาณน้ำมากและมีการเคลื่อนตัวของมวลสารน้อย ในพื้นที่ความลาดชันต่ำ ดังนี้[1]
1.
แผ่นดินถล่ม (Landslide)
2.
กองหินจากการถล่ม (Debris avalanches) ซึ่งเป็นการถล่มอย่างรวดเร็วจากเทือกเขาสูงชัน
โดยอัตราความเร็วอาจมากกว่า 800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
สามารถทำลายสิ่งต่างๆที่ขวางกั้น
3.
ดินเลื่อน (Earth flow) เป็นการเคลื่อนตัวของหินหรือหินผุตามไหล่เขาหรือลาดเขาจากแรงดึงดูดของโลก
การเลื่อนตัวเป็นไปอย่างช้า ๆจนสามารถกำหนดขอบเขตของการเลื่อนตัวด้านข้าง
ถ้าปริมาณน้ำมากขึ้นและการเคลื่อนตัวเร็วขึ้นดินเลื่อนอาจเปลี่ยนเป็นโคลนไหล (Mud
flow)
4.
น้ำหลากแผ่ซ่าน (Sheet flood) เป็นลักษณะการหลั่งไหลของน้ำแผ่ซ่านจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
ขณะฝนตกหนัก เพราะปริมาณน้ำมีมากจนไหลลงร่องห้วยลำธารต่างๆ
ซึ่งจะทำให้เกิดการไหลแผ่ซ่าน (Sheet flow) ของน้ำออกเป็นผืนบางๆบนผิวดิน
5.
การกร่อนแบบพื้นผิว (Slope wash, sheet flood erosion, unconcentrated wash,
rain wash หรือ surface wash) เป็นการกร่อนผุพังของพื้นผิวที่มักเกิดในฤดูฝน
เพราะน้ำฝนไหลหลากลงสู่ร่องลำธารต่างๆไม่ทันจึงไหลแผ่ซ่านไปตามพื้นดินที่ต่ำกว่า
ทำให้เกิดการกัดกร่อนเป็นบริเวณกว้างกว่าน้ำหลากแผ่ซ่าน (Sheet flood)
6.
ธารน้ำ (Stream)
ข้อสังเกตหรือสิ่งบอกเหตุ[แก้]
การย้ายมวลบางครั้งเกิดขึ้นมาอย่างไม่มีเหตุผลหรือโอกาสการระมัดระวังน้อยมาก
โดยส่วนใหญ่ การย้ายมวลมักเกิดจากเหตุการณ์ต่อไปนี้เป็นตัวกระตุ้น
·
การสั่นไหวอย่างรุนแรง (Sudden shock) หรือการเกิดแผ่นดินไหว
พลังงานที่เกิดจากแผ่นดินไหวสามารถถ่ายทอดมายังพื้นดิน
ทำให้เกิดการเสียสมดุลของพื้นที่ลาดเอียง (Slope failure)
·
การเปลี่ยนความลาดชัน
(Slope modification) หรือการถอดส่วนค้ำจุน
(Support removal)
·
การกัดลึก (Undercutting) ของลำธารตามตลิ่งหรือการกัดเซาะของคลื่นตามชายฝั่งทะเล
โดยเฉพาะคลื่นลมแรงที่มีความเร็วและความแรงสูงมาก
กระแทกกับชายฝั่งจนทำให้เกิดการเสียสมดุลของพื้นที่และเกิดแผ่นดินเลื่อนในที่สุด
กรณีพื้นที่หมู่เกาะฮาวายซึ่งร่นเข้าไปในแผ่นดิน
เนื่องจากคลื่นกระแทกหินภูเขาไฟที่มีรอยแตกถี่ๆบริเวณด้านล่างของผา
จนเกิดการเลื่อนลง ทำให้หินที่วางตัวอยู่ด้านบนพังตัวลงมา
·
ฝนตกหนัก (Heavy rainfall) ฝนที่ตกหนักและยาวนานอาจทำให้พื้นดินที่เอียงเทอิ่มตัวด้วยน้ำ
และเกิดการเสียสมดุล ด้วยเหตุนี้การย้ายมวลจึงเกิดขึ้นบ่อยในบริเวณที่มีฝนตกชุก
·
การระเบิดของภูเขาไฟ (Volcanic eruption) เป็นสภาวะหนักที่กระตุ้นให้เกิดแผ่นดินเลื่อนหรือถล่ม
ภูเขาไฟชนิดเป็นชั้น (Strato-volcanoes) มักประกอบด้วยธารหินละลายและเถ้าถ่านไหลที่ยังไม่แข็งตัวและไม่เสถียรจึงอาจก่อให้เกิดการถล่มลงมาได้
โคลนถล่มในประเทศไทย[แก้]
·
23 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลัน ส่งผลให้มีดินโคลนถล่มในพื้นที่ อ. ลับแล จ. อุตรดิตถ์ เสียชีวิต 87
คน สูญหาย 29 คน
·
11 สิงหาคม พ.ศ. 2544 น้ำป่าโคลนถล่ม ที่ ต. น้ำก้อ ต.
น้ำชุน ต. หนองไขว่ ใน อ. หล่มสัก จ. เพชรบูรณ์ บ้านเรือนเสียหาย
515 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 131 คน
·
4 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 น้ำป่าทะลักจากอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย ถล่มใส่หลายหมู่บ้านใน อ. วังชิ้น จ. แพร่ มีผู้เสียชีวิต 23
คน สูญหาย 16 ราย บาดเจ็บ 58 ราย
·
22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ที่ ต. กะทูน อ. พิปูน จ. นครศรีธรรมราช มีผู้เสียชีวิตถึง
700 คน
โคลนถล่มที่ ตำบลกะทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช
·
พื้นที่ภัยพิบัติโคลนถล่ม
ต.กะทูน อ.พิปูนประมาณ พ.ศ. 2532 สีขาวบนเขาคือพื้นที่ที่โคลนถล่ม
สีขาวบนพื้นราบคือพื้นที่ตั้งถิ่นฐานเดิมของชาวบ้าน โปรดสังเกตทางน้ำออกที่ลูกศรชี้
·
ก่อนวันเกิดเหตุ
3- 4 วันได้เกิดพายุดีเพรสชั่น มีฝนตกปรอยๆ ต่อเนื่องมาหลายวัน
ทำให้พื้นดินรวมทั้งเชิงเขาที่ชาวบ้านขึ้นไปปลูกยางพาราบนพื้นที่เดิมที่เปรียบเสมือนฟองน้ำตั้งเอียงที่พอซับน้ำได้พอประมาณเท่านั้น
หมดขีดความสามารถในการอุ้มน้ำ น้ำที่อุ้มไว้อย่างเอียงๆ เต็มที่แล้วนั้น
นอกจากจะทำให้ดินมีน้ำหนักมากขึ้น
ยังลดความฝืดของอณูดินเองกับหล่อลื่นรากพืชที่ช่วยกันต้านแรงดึงดูดของโลกไว้
เมื่อมีฝนระลอกใหญ่ตกเพิ่มเติมลงมาในวันที่ 22 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2531 ดังกล่าว
จึงทำให้พื้นที่ที่หมดขีดความสามารถในการอุ้มน้ำส่วนบนบางส่วนพังทลายลงมาในรูปของโคลนถล่มพร้อมกับต้นไม้เดิมและต้นยางพาราไหลทลายทับถมลงมาในลักษณะโดมิโน พื้นที่ลาดชันบางส่วนแม้จะแข็งแรงรับนำหนักตัวเองได้พอควรอยู่ก่อน
ย่อมไม่อาจรับน้ำหนักโคลนและท่อนไม้ที่ไหลทะลักที่มีความเร่งเพิ่มยกกำลังสองตามกฎแรงดึงดูดของโลก นอกจากนี้น้ำส่วนบนที่เบากว่ายังยกระดับสูงได้อย่างรวดเร็วภายในเวลานับเป็นเพียงนาทีเท่านั้น
บ้านเรือนที่ปกติปลูกสูงพอสมควรก็มักถูกทำลายได้มากมายในพริบตาเช่นกัน
·
แอ่งตำบลกระทูนมีพื้นที่ประมาณ
70 ตารางกิโลเมตร
มีทางน้ำและลำธารหลายสายซึ่งรับน้ำจากเชิงเขาโดยรอบที่เรียกว่าพื้นที่รับน้ำ (Watershed)
ที่ประมาณจากแผนที่ภูมิประเทศเพียง 200-300 ตารางกิโลเมตรไหลมารวมที่ช่องระบายน้ำออกจากแอ่งเขาพิปูนที่กว้างเพียงประมาณ70
เมตร ทำให้โคลนและซุงมารวมจุดขวางทางอยู่
ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินจึงเกิดสูงมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์
·
เหตุการณ์ในลักษณะนี้ไม่เกิดขึ้นบ่อย
แต่เป็นที่ตระหนักกันดีในเชิงอุทกศาสตร์และการป้องกันภัยธรรมชาติชาวบ้านและทางราชการที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงจึงให้ความสำคัญน้อย
และมักปล่อยให้มีการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่เสี่ยงนั้นต่อไปอีกเมื่อเวลาเนิ่นออกไปด้วยเหตุผลทางสังคม
กฎหมายที่มีอยู่ก็เพียงเพื่อบรรเทาและให้ความช่วยเหลือในระยะสั้น มิได้กำหนดมาตรการทางกฎหมายในด้านการตั้งถิ่นฐานระยะยาวบนพื้นที่เสี่ยงไว้
·
ปรากฏการณ์โลกร้อน (Global warming) แม้จะเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติระยะยาว
แต่การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วและการเผาผลาญเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์จำนวนมหาศาลของมนุษย์กำลังเพิ่มอัตราความเร็วและความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่รุนแรงและค่อนข้างพยากรณ์ได้ยาก
ประเทศไทยมีพื้นที่เสี่ยงสูงเช่นนี้มากมายหลายแหล่ง รวมทั้งพื้นที่ที่กรมทรัพยากรธรณีได้ประกาศไว้แล้วจึงไม่ควรละเลยภัยธรรมชาติประเภทโคลนถล่มอีกต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น